กำหนดการประชุม

การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2565 รูปแบบออนไลน์
โดย สมาคมนักประชากรไทย
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565

พิธีกร: วราวรรณ ฐาปนธรรมชัย

8.30 – 9.00 น.

เปิดห้องออนไลน์

9.00 – 9.15 น.

กล่าวรายงานการจัดประชุม โดย ศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ นายกสมาคมนักประชากรไทย

9.15 – 10.15 น.

ปาฐกถา มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ หัวข้อ "ทิศทางนโยบายในยุคเกิดน้อยกว่าตาย"

โดย นายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

10.30 – 12.00 น.

เสวนาวิชาการ หัวข้อ“เมื่อเด็กเกิดน้อยกว่าคนตาย นโยบายจะไปทางไหน นักประชากรจะมีบทบาทอย่างไร” 

  1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล : ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. นายแพทย์ บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ : ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.วิราภรณ์ โพธิศิริ อาจารย์ประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. คุณกวิน ศิริพานิช : เจ้าของเพจนวล
ดำเนินรายการ : รศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

13.00 – 14.15 น.

เสนอบทความ “ประชากรสุขภาพ และคุณภาพชีวิต” ห้องประชุม 1

  • ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุวัยต้นเขตกรุงเทพมหานคร / จันทร์เพ็ญ อุปะเก
  • ความเปราะบางใหม่จากสถานการณ์โควิด 19: การศึกษาครอบครัวมุสลิมและสถานการณ์เด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนใต้ / ศุภานัน สุวรรณสาม
  • ประชากรศาสตร์ในโหราศาสตร์ไทย: ความสำคัญของการวิเคราะห์องค์ประกอบทางประชากรกับการพยากรณ์ดวงชะตา / ฐิตินันทน์ ผิวนิล
  • “โควิค-19’’ ความสุข: จากอิสระแห่งการเรียนรู้ในสังคมใหม่ / พระมหาสายชล วรธมฺโม 

ผู้ดำเนินรายการและให้ความเห็น : รศ.ดร. สุธรรม นันทมงคลชัย
ผู้ให้ความเห็น : รศ. ดร. อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต


เสนอบทความ “ประชากรสูงวัย” ห้องประชุม 2

  • ผู้สูงอายุไทยกับการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ / กัลยกร ฝูงวานิช
  • สัมพันธภาพในครอบครัวกับการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร / พิเชษฐ์ เกียรติประยุกต์
  • “ความหวาน” กับชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล / วานิตา ยอดถี
  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหลังคอมมิวนิสต์: การศึกษาการเปลี่ยนผ่านของอุดมการณ์และการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุอดีตพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา / นันทภพ อาดำ 

ผู้ดำเนินรายการและให้ความเห็น : รศ.ดร. ศุทธิดา ชวนวัน
ผู้ให้ความเห็น : ผศ.ดร. ยศ อมรกิจวิกัย


เสนอบทความ "ประชากรกับการทำงาน” ห้องประชุม 3

  • ครัวเรือนกับรูปแบบการทำงานของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทย / กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์
  • ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: ลักษณะและปัจจัยเสี่ยง / สุพนิดา จิระสินวรรธนะ
  • ระดับการจัดการความเสี่ยงของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ปิยะดา แนวประเสริฐ  

ผู้ดำเนินรายการและให้ความเห็น : รศ.ดร. ดุษฎี อายุวัฒน์
ผู้ให้ความเห็น : ผศ.ดร. ปัทพร สุคนธมาน


14.30 – 15 .45 น.

เสนอบทความ "ประชากรกับการย้ายถิ่นข้ามชาติ” ห้องประชุม 1

  • การสะสมทุนเศรษฐกิจของแรงงานอีสานย้ายถิ่นกลับจากไปทำงานต่างประเทศ / ณัฐวรรธ อุไรอำไพ
  • ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปฏิบัติการเป็นตัวแทนครัวเรือนของผู้หญิงที่สามีย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ / สุวิมล คำน้อย
  • การกลับสู่ประเทศต้นทางของผู้ลี้ภัยหญิงชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยจากมุมมองเพศสภาพ / มัสลิน วนาเนติกุล
  • The Impact of the Aging Population and Shrinking Workforce on the Japanese Economy / Suppaleuk Sarpphaitoon

ผู้ดำเนินรายการและให้ความเห็น : ศ.ดร. ปังปอนด์  รักอํานวยกิจ
ผู้ให้ความเห็น : รศ.ดร. เฉลิมพล แจ่มจันทร์


เสนอบทความ "เพศภาวะ อนามัยเจริญพันธุ์ กับประเด็นความรุนแรง” ห้องประชุม 2

  • การตีตราที่เกิดกับเยาวชนข้ามเพศส่งผลต่อความรุนแรงในครอบครัวนักดื่ม / กิตติวินท์ เดชชวนากร
  • การพัฒนากรอบปัจจัยความเสี่ยงแวดล้อมด้วยทฤษฎีนิเวศวิทยาเชิงสังคมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะอนามัยการเจริญพันธุ์และการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย / ปกรณ์ อัคฆกาญจนสุภา
  • ความซับซ้อนของการใช้กฎหมายครอบครัวมุสลิมกับความรุนแรงต่อผู้หญิงจังหวัดชายแดนใต้ / กสิณา โอฬารริกสุภัค 
  • ความเข้าใจเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศในกลุ่มผู้ชายที่เคยเป็นผู้กระทำมาเป็นผู้รณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว / วรปัญญ์ โภควนิช

ผู้ดำเนินรายการและให้ความเห็น :  ผศ.ดร. อุษณีย์ พึ่งปาน
ผู้ให้ความเห็น : ผศ.ดร. กนกวรรณ ธราวรรณ


เสนอบทความ "ประเด็นทางประชากรและสังคมกับเยาวชนไทย” ห้องประชุม 3

  • โมเดลต้นแบบชุมชนเสมือนจริง เพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรเจนวาย / นันทวัน ป้อมค่าย
  • เด็กบอร์ด : ชีวิตและการก่อร่างตัวตนของวัยรุ่นในสนามดำ จังหวัดปัตตานี / นัจมี หะยีอารง
  • ทรรศนะของคนเมืองในการเผชิญเหตุรุนแรงในสังคม: กรณีศึกษาเหตุกราดยิงจังหวัดนครราชสีมา / วรัชยา เชื้อจันทึก

 ผู้ดำเนินรายการและให้ความเห็น : รศ.ดร. ภูเบศร์ สมุทรจักร
ผู้ให้ความเห็น : อาจารย์ ดร. บุรเทพ โชคธนานุกูล


15.45 – 16.00 น.

พิธีมอบรางวัลผู้นำเสนอผลงานดีเด่น และปิดการประชุมโดยนายกสมาคมนักประชากรไทย

 

ติดต่อ

สมาคมนักประชากรไทย
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170


เวลาทำการ

  • วันจันทร์ - วันศุกร์: 8.30-16.30 น.
  • วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกต์: ปิด